วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการเขียนแผนธุรกิจ เพื่อขอสินเชื่อสถาบันการเงินต่างๆ

การเขียนแผนธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อหรือขอกู้สถาบันการเงินต่างหรือขอกู้แบงค์นั้น มีหลักการเขียนแผนธุรกิจ เหมือนข้างล่างนี้(เพื่อนๆสามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับธุรกิจของตัวเองได้)

ในการเขียนโครงการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินนั้น หลักการเขียนส่วนใหญ่จะเหมือนกัน แต่จะมีรายละเอียดการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันตามประเภทธุรกิจ ซึ่งสถาบันการเงินต่าง ๆ มักจะแบ่งกลุ่มลูกค้า ออกตามประเภทของธุรกิจที่ลูกค้าประกอบกิจการอยู่ ส่วนใหญ่จะแบ่งออกดังนี้

        1. ประเภทธุรกิจอุตสาหกรรม หมายถึง การดำเนินกิจการที่เปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ ด้วยมือ หรือเครื่องจักร หรือเคมีภัณฑ์ ตลอดจนการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกอบชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น ทั้งนี้รวมถึงธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วย

        2. ประเภทธุรกิจก่อสร้างและขนส่ง จะประกอบด้วย ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจจัดสรรที่อยู่อาศัย รวมถึงธุรกิจที่มีการประมูลทางสร้างถนน เขื่อน เป็นต้น

        3. ประเภทธุรกิจสั่งสินค้าเข้า หมายถึง การประกอบกิจการหลักที่เป็นการสั่งสินค้าจากต่างประเทศ
เข้ามาจำหน่ายในประเทศ รวมทั้งการเป็นตัวแทนและนายหน้านำสินค้าเข้า อาทิเช่น กิจการนำเข้าเคมีภัณฑ์ กิจการนำเข้าอาวุธสงคราม จำหน่ายให้หน่วยราชการ เป็นต้น

        4. ประเภทธุรกิจส่งสินค้าออก หมายถึง การประกอบกิจการหลักเพื่อการส่งสินค้าออกไปจำหน่าย ยังต่างประเทศ รวมทั้งเป็นตัวแทน และนายหน้าส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศด้วย เช่น บริษัทเทรดดิ้งคอมปานี กิจการส่งออกพืชไร่ เป็นต้น

        5. ประเภทธุรกิจการเกษตร หมายถึงการประกอบกิจการเกี่ยวกับการเกษตร ทั้งการประมง กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ทั้งในรูปนิติบุคคลและกลุ่มเกษตรกร สามารถแบ่งได้ดังนี้

                5.1 เกษตรกร หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตร คือ กสิกรรม ประมง และการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เกษตรกร กลุ่มเกษตรสหกรณ์ ที่มีสมาชิกเป็นเกษตรกร และรวมทั้งบุคคลหรือ นิติบุคคล

                5.2 ธุรกิจการเกษตร หมายถึง ผู้ประกอบกิจการเกษตรในส่วนที่เป็นปัจจัยที่ใช้ในการผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

ปัจจัยที่ใช้ในการผลิตทางการเกษตร หมายถึง ธุรกิจที่ทำการผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อเป็นปัจจัย
ทั้งทางตรงและใกล้ชิดต่อการผลิตทางการเกษตร อาทิเช่น การผลิตรถไถนา การผลิตปุ๋ย การรับจ้างเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร ฯลฯ

        อุตสาหกรรมเกษตร หมายถึง อุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตเบื้องต้นที่เกิดจากผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบใน การผลิต เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมด เช่น โรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล โรงงานทำวุ้นเส้น ฯลฯ

        6. ประเภทธุรกิจทั่วไป จะประกอบด้วยประเภทธุรกิจค้าส่ง ค้าส่งที่ซื้อจากเกษตรโดยตรง ค้าปลีก สถาบันที่ไม่แสวงหากำไร การเงิน ธุรกิจบริการ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และอื่น ๆ

        ทั้งนี้ ผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ในแต่ละประเภทและแต่ละขนาด จะใช้วงเงินสินเชื่อไม่เหมือนกันซะทีเดียว ถ้าหากเป็นธุรกิจที่ขนาดเล็กหรือขนาดกลางมักจะใช้วงเงินสินเชื่อพื้นฐานไม่กี่อย่าง แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักจะใช้สินเชื่อเกือบทุกประเภทที่ ธนาคารมีอยู่ นอกจากนี้ตัวธุรกิจบางครั้งยังก้ำกึ่งกับธุรกิจประเภทอื่น ๆ เช่น ธุรกิจส่งออกหรือธุรกิจนำเข้า เป็นต้น

        โดยภาพรวมแล้ว ต่อไปเราจะต้องพร้อมที่จะเขียน การเขียนไม่ว่าจะเขียนอะไร ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่หนักใจ สำหรับเพื่อนๆที่ไม่เคยเขียน จึงขอเสนอวิธีเขียนแบบง่าย ๆ ให้นำไปใช้ได้จริง โดยขอยกตัวอย่างการเขียนโครงการขอกู้เงินของธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถนำไปเป็นตัวอย่างสำหรับธุรกิจของเราได้

หัวข้อที่ใช้ในการเขียนโครงการขอกู้เงิน

     1. หนังสือเสนอขอกู้เงินกับสถาบันการเงิน

     2. บทสรุปผู้บริหาร

         เป็นการสรุปจากแผนต่าง ๆ ทั้งด้านการตลาด การจัดการ การผลิต และการเงิน เพื่อให้ทราบถึงพันธกิจขององค์กร วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร พร้อมทั้งแผนที่จะไปสู่เป้าหมายอย่าง ย่อ ๆ ควรจะเขียนเป็นลำดับสุดท้ายโดยสรุปย่อ มีเนื้อหาที่กระชับ มีประเด็นสำคัญครบถ้วน

     3. ภาพรวมของกิจการ

          3.1  ประวัติความเป็นมาของกิจการ

         เป็นการกล่าวถึงแนวความคิดและความเป็นมาของกิจการว่าเกิดได้อย่างไร อะไรคือเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ

          3.2  สถานที่ตั้ง

         · เป็นที่ตั้งของกิจการ หรือโรงงาน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์เพื่อติดต่อได้สะดวก

          3.3 ผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร/ประสบการณ์ของผู้บริหาร

         · มีใครบ้างเป็นผู้ร่วมทุน จำนวนเงินลงทุน ความสามารถ และความชำนาญงานของแต่ละคน

          3.4 การแสดงโครงสร้างองค์กรและผังบริหารองค์กร (ถ้ามี)

          3.5 ผลการดำเนินงานในอดีต (ถ้ามี)

     4.  วัตถุประสงค์ที่จะขอสินเชื่อ

          4.1 วงเงินสินเชื่อที่ต้องการ

         · โดยแยกเป็นประเภทของสินเชื่อ เช่น เงินกู้ เงินทุนหมุนเวียน (O/D)

          4.2 จะนำสินเชื่อที่ขอครั้งนี้ไปทำอะไร

         · เช่น เพื่อซื้อที่ดิน ปรับปรุงอาคารสถานที่ ก่อสร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร

          4.3 เงื่อนไขที่ต้องการมีอะไรบ้าง

         · เช่น ระยะเวลาการชำระคืน อัตราดอกเบี้ย

          4.4 หลักประกันที่เสนอ

         · รายละเอียดหลักประกัน

         · มูลค่าหลักประกัน

      5.  ลักษณะและโครงสร้างธุรกิจ

           5.1 สินค้าและบริการมีอะไรบ้าง

           5.2 การตลาด การจำหน่ายในประเทศ ต่างจังหวัดหรือกรุงเทพฯ เป็นสัดส่วนเท่าใด ระยะเวลาการให้เครดิตกี่วัน หรือถ้าเป็นการจำหน่ายต่างประเทศ กลุ่มประเทศแถบใด วิธีการจำหน่ายโดยการให้ลูกค้าเปิด L/C หรือ Open Account ระยะเวลาการให้เครดิตกี่วัน

          5.3 ตลาดเป้าหมายที่ต้องการขยายเพิ่มขึ้น

         · กลุ่มลูกค้า

         · ขนาดของตลาด ความต้องการ ภาวะการผลิต

         · ตำแหน่งทางการตลาด

         · กลยุทธ์และแผนการตลาด

          5.4 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม

          5.5 คู่แข่งขัน

     6. ลักษณะของโรงงานและแผนการผลิต

          6.1 ที่ตั้ง เนื้อที่ดิน ผู้ถือกรรมสิทธิ์

          6.2 การวางผังโรงงาน นอกอาคาร/ในอาคาร

          6.3 เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต ประสิทธิภาพเครื่องจักร เก่า-ใหม่ แหล่งผลิต

          6.4 อาคาร สิ่งก่อสร้าง และสำนักงาน ขนาดเนื้อที่ ถาวร--ชั่วคราว เก่า-ใหม่

          6.5 ผังการบริหารในการผลิต

          6.6 แผนการดำเนินการ

          6.7 กำลังการผลิต ปัจจุบันผลิตเต็มกำลังการผลิตหรือยัง

          6.8 เทคนิคการผลิตได้มาจากไหน/กรรมวิธีในการผลิต

          6.9 แรงงานมีจำนวนเท่าใด โครงสร้างแรงงาน มีสหภาพแรงงานหรือไม่

     7. ข้อมูลทางการเงิน

     เพื่อศึกษางบทางการเงินต่าง ๆ ดูผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและน่าจะมีความเป็นไปได้ในอนาคตข้อมูลทางการเงิน จะต้องใช้ความระมัดระวังในการประมาณการให้สอดคล้องกับการขอวงเงินสินเชื่อ

          7.1 งบดุล – งบกำไรขาดทุน (ย้อนหลัง 3 ปี) (ถ้ามีนะครับ)

          7.2 ประมาณการทางการเงินของโครงการ

         7.3 การวิเคราะห์การลงทุนของโครงการ

         7.4 งบกระแสเงินสด

         7.5 การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน

         7.6 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

         7.7 การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ

         7.8 การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน

     8. รายละเอียดการใช้บัญชีต่าง ๆ

     เป็นการให้ข้อมูลต่อผู้วิเคราะห์ของสถาบันการเงินเพื่อแสดงความจริงใจ เปิดเผยข้อมูลไม่ปิดบังสามารถตรวจสอบได้

         8.1 ชื่อสถาบันการเงินที่เดินบัญชีทุกแห่ง พร้อมทั้งการเคลื่อนไหวทางการบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน

         8.2 รายละเอียดวงเงินสินเชื่อที่มีอยู่ / เงื่อนไข / หลักประกันกับสถาบันการเงินนั้น

     9. ภาคผนวก

          9.1 ข้อมูลลูกค้า ประกอบด้วย

         · ข้อมูลลูกค้ารายใหญ่ 5 ราย เรียงตามลำดับยอดขาย

         · แผนหรือกิจการที่จะเพิ่มยอดขายกับลูกค้าแต่ละรายข้างต้น

         · ลูกค้าเป้าหมาย

9.2 การวิเคราะห์คู่แข่ง ระบุคู่แข่งขันรายใหญ่ 3 ราย โดยประกอบด้วย

         · ระยะเวลาที่อยู่ในตลาด

         · ส่วนแบ่งตลาด

         · ราคา/กลยุทธ์

         · ระบุจุดแข็ง-จุดอ่อนของเราเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

9.3 การแบ่งส่วนตลาดและลูกค้าเป้าหมาย

กล่าวโดยสรุป ควรจะจัดทำในลักษณะรูปเล่มโดยเขียนตามหัวข้อที่กล่าวมาแล้ว กำหนดหัวข้อเขียน จะทำให้ง่ายต่อการเขียนโครงการขอสินเชื่อ และถ้ามีการทำแผนธุรกิจมาก่อน ก็สามารถที่จะนำข้อมูลจาก แผนธุรกิจมาใส่ได้ด้วย

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ รองประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการบริหารเงินส่วนบุคคล

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
1) ควรตั้งเป้าหมายในการบริหารเงินอย่างไร
เป้า หมายสูงสุดของการบริหารเงิน คือ อิสรภาพทางการเงิน (Financial Independence) คือ การไม่มีหนี้หรือมีเงินใช้จ่ายที่เพียงพอแม้ว่าจะเจ็บป่วยหรือไม่ได้ทำงานก็ตาม โดยใช้รายได้จากผลตอบแทนจากการลงทุน ค่าเช่า มาเลี้ยงดูตนเองได้ ซึ่งบางคนก็ก้าวเข้าสู่ความมีอิสรภาพทางการเงินได้ตั้งแต่อายุน้อย เนื่องจากมีการวางแผนที่ดี ไม่จำเป็นต้องรอจนเกษียณก็ได้

2) เคยลองทำตามคู่มือหรือหนังสือบริหารเงินต่างๆ แต่พอเวลาผ่านไปไม่สามารถทำตามแผน ได้ เราควรทำอย่างไร
ชีวิต คนเราเกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันได้ตลอด เหมือนกับการไปเดินเล่นในสวนสาธารณะที่อาจแวะถ่ายรูป เก็บดอกไม้ แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมาเดินในเส้นทางเดิม เช่นเดียวกับการบริหารเงินที่บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้เงินในยามฉุก เฉิน ก็อาจนำเอาเงินออมออกมาใช้ได้ แต่เมื่อผ่านพ้นภาวะนั้นไปแล้ว ก็ควรกลับมาวางแผนการเงินให้ได้ตามเดิม ก็จะทำให้ผ่านอุปสรรคไปได้ง่ายขึ้น บรรลุเป้าหมายตามเวลาที่กำหนดได้ไม่ยาก

3) สัดส่วนหนี้กับรายได้ควรต้องเป็นอย่างไร
สัด ส่วนหนี้ที่ไม่ดี และถึงจุดอันตรายคือ ไม่สามารถผ่อนได้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งตามทฤษฎีกล่าวว่า สัดส่วนเงินที่ใช้ในการผ่อนหนี้ควรไม่มากเกินกว่า 35% ของรายได้ เพราะที่เหลือเราจำเป็นต้องใช้จ่าย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีฐานภาษีสูงถึง 30% แปลว่าจะต้องเหลือเงินสำหรับใช้จ่ายเพียง 70% การที่ต้องผ่อนหนี้ถึง 35% นับว่าสูงทีเดียว เพราะจะเหลือสัดส่วนสำหรับการใช้จ่ายจริงเพียง 35% เท่านั้น สำหรับผู้ที่มีภาระหนี้มาก ก็ควรเลือกปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการกู้ใหม่ (Refinance) เพื่อให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยจากภาระหนี้ลดลง โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยหนี้บัตรเครดิตอยู่ที่ 18% สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) อยู่ที่ 12-15% และสำหรับผู้ที่มีบ้านเป็นหลักประกันก็อาจเสียอัตราดอกเบี้ยเพียงแค่ 5-6% แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรกู้นอกระบบ เพราะจะทำให้ภาระหนี้ยิ่งสูงขึ้นและสร้างความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นได้ เพราะอาจมีความสามารถจ่ายได้เพียงแค่ดอกเบี้ยเท่านั้น

4) เราควรจะแบ่งสัดส่วนหนี้สำหรับบ้าน รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไร
ไม่ สามารถแบ่งสัดส่วนที่ชัดเจนได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่หากจะเป็นหนี้ แนะนำว่าควรเป็นหนี้บ้าน เพราะเป็นสินทรัพย์ที่ดี มีคุณค่าทางจิตใจ และยังถือเป็นการลงทุนหรือการเก็บเงินได้อย่างหนึ่งด้วย โดยอาจเอาเงินที่ใช้ผ่อนไปทำอย่างอื่นได้ โดยหากแบ่งเป็นตามภาระหนี้ 100% แล้ว ควรเป็นหนี้บ้านในสัดส่วนที่มากที่สุด เพราะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ สำหรับรถยนต์ควรเก็บเงินไปซื้อ และกู้ให้น้อยที่สุด เพราะอัตราดอกเบี้ยของรถสูงมาก แต่สำหรับวัยเริ่มทำงานอาจมีความจำเป็นต้องใช้รถ เช่นเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ควรเก็บเงินให้ได้ก่อนจึงค่อยซื้อ เพราะราคาไม่แพง และไม่ควรกู้ เพราะจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าการกู้ซื้อบ้าน

5) สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มทำงานและอยากซื้อคอนโดมิเนียมในเมือง มีคำแนะนำให้เริ่มเก็บเงินอย่างไร
การ เริ่มซื้อบ้านหลังแรก ควรดูกำลังการผ่อนต่อเดือนของตนเอง เช่น หากสามารถผ่อนได้ 6,000 บาทต่อเดือน การกู้เงินระยะเวลา 30 ปี จะสามารถกู้ได้ประมาณ 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 6% ต่อปี แต่เมื่อรวมกับเงินดาวน์แล้ว คอนโดมิเนียมที่จะซื้อจะมีราคาประมาณ 1.1-1.2 ล้านบาท ดาวน์ 15% ผ่อน 85% ซึ่งผู้ที่ต้องการซื้อบ้านก็ควรเก็บเงิน 6,000 บาทต่อเดือนให้ได้ประมาณ 2 ปี เพื่อให้มีเงินดาวน์ประมาณ 150,000 บาท หลังจากนั้นจึงไปเซ็นสัญญากู้เงินและผ่อนบ้านต่อไป และเมื่อเงินเดือนเพิ่มขึ้นก็ควรผ่อนให้หมดโดยเร็ว และเมื่อคาดการณ์ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นเร็วก็อาจซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เกิน ตัว เช่น 1.5 ล้านบาท หรือ 1.8 ล้านบาท เพราะหากมีตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้นในอนาคต ก็จะไม่ต้องเปลี่ยนที่พักบ่อยๆ โดยหากเงินเดือนเพิ่มขึ้นหรือได้รับโบนัสก็อาจผ่อนได้หมดภายใน 20 ปี

สูตรเด็ด เคล็ดลับ วิธีบริหารเงิน: จากหนังสือ ”Secrets of the Millionaire Mind” โดย T. Harv Eker

สูตรเด็ด เคล็ดลับวิธีบริหารเงิน
Eker ได้ให้หลักการสองสามข้อในเรื่องการบริหารเงินที่น่าสนใจ เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ได้ ประการแรกคือ ให้เปิดบัญชีที่เรียกว่า "บัญชีอิสรภาพทางการเงิน" เพิ่มอีกบัญชีหนึ่ง แล้วฝากเงิน 10% ของทุกบาทที่เราหามาได้ไว้ในบัญชีนี้ เงินส่วนนี้มีไว้เพื่อการลงทุนและซื้อหรือสร้างแหล่งรายได้งอกเงยเท่านั้น ห้ามนำเงินในบัญชีนี้ไปใช้ซื้อของ แต่ใช้ได้เฉพาะการลงทุนเท่านั้น

นอกจากเรื่องการเปิดบัญชีอิสรภาพทางการเงินแล้ว เราก็ควรมีกระปุกอิสรภาพทางการเงินไว้ในบ้านด้วย และหยอดเงินใส่ทุกวัน โดยจำนวนเงินที่ใส่ไม่สำคัญเท่ากับการทำให้เป็นนิสัย เคล็ดลับคือการให้ "ความสนใจ" กับจุดมุ่งหมายที่จะไปสู่อิสรภาพทางการเงินทุก ๆ วัน กระปุกธรรมดาๆ ของเพื่อนๆจะกลายเป็น "แม่เหล็กดูดเงิน" เพื่อดึงดูดเงินจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งโอกาสแห่งการมีอิสรภาพทางการเงินมากตามไปด้วย

เรายังควรมีอีกบัญชีไว้ เก็บเงินจำนวนเท่าๆ กันสำหรับใช้จ่ายเล่นเพื่อความสุขส่วนตัวโดยเฉพาะ เพื่อรักษาสมดุลในการบริหารเงิน เราควรเก็บเงินให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับนำไปใช้ลงทุนเพื่อ ให้เม็ดเงินงอกเงย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องแบ่งเงิน 10% ของรายได้ใส่ไว้ในบัญชีที่เรียกว่าเป็นบัญชี "ใช้เล่น" ด้วย เหตุผลก็คือ เพราะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเชื่อมโยงถึงกันหมด เราไม่มีทางสร้างผลกระทบกับด้านใดด้านหนึ่งของชีวิตโดยไม่ส่งผลกับด้านอื่นๆ อย่างแน่นอน กฎเหล็กของบัญชีเงินใช้เล่นคือ เงินที่เก็บไว้ในบัญชีนี้จะต้องถูกนำไปใช้ทุกเดือน หนทางเดียวที่เราจะเก็บออมเงินได้สำเร็จก็คือ การได้ใช้จ่ายเงินเพื่อความบันเทิงเป็นรางวัลชดเชยสำหรับความพยายามในการเก็บออม

นอกจากบัญชีเงินใช้เล่นและบัญชีอิสรภาพทาการเงินแล้ว มิสเตอร์อีเกอร์ยังแนะนำให้เปิดอีก 4 บัญชี เพื่อแยกรายได้ที่เราเก็บไว้ดังนี้

- 10% ใส่บัญชีเงินออมระยะยาวเพื่อการใช้จ่าย
- 10% ใส่บัญชีเพื่อการศึกษา
- 50% ใส่บัญชีเพื่อการใช้จ่ายที่จำเป็น
- 10% ใส่บัญชีเพื่อการให้

ดังนั้น ถ้าเพื่อนๆบริหารเงินตามหลักการนี้ ก็จะสามารถมีอิสระทางการเงินได้ด้วยรายได้ไม่มาก แต่ถ้าบริหารเงินได้ไม่ดี ถึงแม้จะมีรายได้มหาศาล เพื่อนๆก็จะไม่สามารถมีอิสระทางการเงินได้

Eker ยังให้กฎไว้ข้อหนึ่งว่า “เงินเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต เมื่อเราเรียนรู้วิธีการควบคุมการเงิน ชีวิตของเราก็จะดีขึ้นในทุกๆ ด้าน”
เพื่อนๆว่าจริงมั้ยครับ^^

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงิน

การวิเคราะห์สินเชื่อ (Underwriting) เป็นการพิจารณาสินเชื่อที่ว่า เมื่อธนาคารได้ปล่อยเงินกู้ใหเพื่อนๆไปแล้ว เพื่อนๆจะสามารถชำระหนี้คืนให้กับธนาคารได้หรือเปล่า ธนาคารจะต้องตรวจสอบเอกสารและข้อมูล และรวมถึงการชำระหนี้ในอดีตของเพื่อนๆ เพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้ที่อยู่อาศัยในอนาคตของเพื่อนๆอีกด้วย เพราะทางธนาคารทราบดีอยู่แล้วว่าถ้าอนุมัติเงินก้อนใดให้เพื่อนๆไป แล้วเพื่อนๆไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามสัญญากู้ ก็จะเป็นผลเสียต่อตัวเพื่อนๆเองและธนาคาร อีกทั้งบ้านในฝันของเพื่อนๆก็อาจจะต้องหลุดลอยไปอีกด้วย

เพราะฉะนั้นแล้ว หากเพื่อนๆไม่อยากเสียใจภายหลังลองอ่านคู่มือเล่มนี้ให้จบ แล้วเพื่อนๆจะตอบตัวเองได้ว่า เพื่อนๆพร้อมหรือยังที่จะไขว่คว้าบ้านในฝันมาเป็นของเพื่อนๆ


การงานมั่นคง บ้านสมดั่งใจ (อย่างแรกเลยนะครับ)

หากเพื่อนๆตกลงปลงใจที่จะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านของเพื่อนๆแล้ว อาชีพการงานก็ถือว่าเป้นเรื่องที่สำคัญเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาให้กู้เงินของธนาคาร อยากรู้แล้วใช่ไหมว่าแบบไหนที่เรียกว่ามั่นคง
สถาบันการเงิน ในเมื่องไทย
เรื่องอาชีพการงานนับว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นที่มาของรายได้และเงินที่เพื่อนๆจะใช้ชำระหนี้ให้กับธนาคาร ทางธนาคารจะตรวจสอบประวัติการทำงานของเพื่อนๆ เพื่อพิจารณาว่า เพื่อนๆมีคุณสมบัติเหมาะสมไหมที่จะได้รับเงินกู้ในครั้งนี้ โดยพิจารณาจากความมั่นคงของงานที่เพื่อนๆทำ หากเพื่อนๆทำงานมานานกว่า 2 ปีต่อเนื่อง ก็เป็นสัญญาณดีที่แสดงให้เห็นว่าอาชีพการงานที่เพื่อนๆทำอยู่มีความมั่นคงแล้ว แต่ก็ไม่จำเป็นว่าใน 2 ปี เพื่อนๆจะต้องทำอยู่เพียงอาชีพเดียว เพราะธนาคารจะดูเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น การย้ายงานที่ทำให้เพื่อนๆมีรายได้สูงขึ้น หรือการทำงานที่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถองเพื่อนๆ เป็นต้น

แต่หากเพื่อนๆทำงานไม่ต่อเนื่องในช่วงเวลา 2 ปี ธนาคารก็ยินดีที่จะพิจารณาเหตุผลของเพื่อนๆ เพื่อเป็นตัวช่วยให้เพื่อนๆได้มีโอกาสเดินทางตามฝันของเพื่อนๆต่อไป แต่ถ้าพิจารณาแล้วเหตุผลไม่เข้าตา เพื่อนๆคงต้องชะลอฝันของเพื่อนๆไว้ก่อน แล้วตั้งหน้าตั้งตาทำงานให้ต่อเนื่องมั่นคง เพื่อที่จะกลับไปแสดงให้ธนาคารเห็นว่าเพื่อนๆพร้อมแล้วล่ะที่จะลงหลักปักฝัน

เครดิตดี มีชัยไปกว่าครึ่ง (อันที่สอง)

เรื่องเครดิตนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เพื่อนๆจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เพราะถ้าเครดิตเพื่อนๆดีแล้ว อะไรๆ ก็จะดูดีตามไปด้วย แล้วเพื่อนๆรู้ไหมว่า เครดิตดีต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง ลองอ่านข้างล่างดูสิ

 * ดูรายงานเครติด ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ

การเงินในอดีตที่ผ่านมาของเพื่อนๆ เป็นเครื่องชี้วัดอย่างหนึ่งว่า ในอนาคต เพื่อนๆจะชำระหนี้ให้กับธนาคารได้หรือไม่ ซึ่งธนาคารจะขอดูรายงานเครดิต (Credit report) ของเพื่อนๆจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบเครดิตหรือการชำระหนี้ของเพื่อนๆที่มีอยู่กับสถาบันการเงินต่างๆ ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ เพราะฉะนั้นเพื่อนๆควรจะเปิดเผยหนี้สินทั้งหมด และอาจชี้แจงถึงเหตุผลที่เพื่อนๆเคยมีปัญหาการค้างชำระในอดีตให้ธนาคารทราบ

 * บ้านเคยถูกยึด ฮีดขึ้นสู้ใหม่

หากเพื่อนๆเคยมีบ้านเป็นของตัวเองมาแล้ว และขอกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัยด้วย แต่จนแล้วจนรอด คูณก็ถูกฟ้องร้องบังคับให้จำนองและขายทอดตลาดบ้านที่เป็นหลักประกันไป ภายในระยะเวลา 7 ปี ก็จะถูกเปิดเผยในรายงานข้อมูลเครดิต แต่เพื่อนๆอย่าเพิ่งหมดหวังเพราะธนาคารให้โอกาสเพื่อนๆกู้ได้อีกครั้ง โดยธนาคารมักจะใช้หลักเกณฑ์ว่าสามารถกู้ได้อีกครั้งต่อเมื่อ การฟ้องยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ต้องเป็นเรื่องเก่าที่ผ่านมาแล้ว 3 ปี แต่เพื่อนๆควรอธิบายเหตุผลให้ธนาคารทราบด้วยว่าทำไมเพื่อนๆจึงไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ในอดีตได้

* เคยล้มละลาย ก็กู้ได้ไม่มีปัญหา

ในกรณีที่เพื่อนๆเคยถุกฟ้องล้มละลาย ภายในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาก็เช่นกัน เรื่องนี้จะถูกบันทึกลงในรายงานเครดิต แต่เพื่อนๆก็ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะธนาคารยังเปิดโอกาสให้กับเพื่อนๆ หากว่าเพื่อนๆหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี เพื่อนๆก็มีสิทธิ์ที่จะกู้ใหม่ได้

คราวนี้เพื่อนๆคงยิ้มน้อยยิ้มใหญ่แล้วล่ะสิว่า ต่อให้เครดิตเพื่อนๆจะเป็นยังไง ธนาคารก็เปิดโอกาสเพื่อให้บ้านในฝันของเพื่อนๆเป็นจริงได้เสมอ แต่..อย่าลืมนะว่า เครดิตดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

เครดิตไม่เข้าตา ธนาคารจะพิจารณาอะไรแทนได้

หากเพื่อนๆเป็นคนหนึ่งที่ไม่มีเครดิต "อย่าเพิ่งคิดน้อยใจ" ยังมีทางเลือกอื่นๆไว้ให้เพื่อนๆอยู่ เพื่อเปิดโอกาสไม่ให้เพื่อนๆพลาดบ้านในฝันของเพื่อนๆไปอย่างน่าเสียดายเ มื่อเพื่อนๆเป็นคนหนึ่งที่ไม่เคยทำบัตรเครดิต หรือไม่เคยกู้เงินจากสถาบันการเงินใดเลย บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ก็จะไม่สามารถรายงานเครดิตของเพื่อนๆให้กับธนาคารทราบได้ แต่เพื่อนๆก็ยังมีสิทธิ์ที่จะกู้เงินจากธนาคาร  เพราะเพื่อนๆอาจจะใช้วิธีการแบบเดิมๆ คือการแสดงบิลใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารการชำระหนี้ต่างๆ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น ที่มีการจ่ายชำระตรงเวลาทุกเดือนและไม่มีการค้างชำระ ซึ่งหากเพื่อนๆสามารถแสดงการชำระหนี้รายเดือนต่างๆ ที่สม่ำเสมอและตรงเวลาได้มากเท่าไร ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงเครดิตของเพื่อนๆในการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านมากขึ้นเท่านั้น

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เพื่อนๆคงเลิกคิดน้อยใจแล้วล่ะ เพราะถึงแม้เพื่อนๆไม่มีเครดิตแต่เพื่อนๆก็มีสิทธิ์ที่จะกู้เงินกับธนาคารได้ บ้านที่เพื่อนๆฝัน จากนี้ไปก็คงไม่ไกลเกินไขว่คว้า

เก็บหอมรอมริบ พิชิตเงินดาวน์

เพื่อนๆสู้อุตส่าห์เก็บเงินมาแรมปี หวังว่าจะมีเงินไว้ดาวน์บ้านในฝันสักหลังหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มั่นใจใช่ไหมว่า เงินออมที่เพื่อนๆมีอยู่เพียงพอที่จะเปลี่ยนเป็นเงินดาวน์ให้เพื่อนๆได้หรือไม่ ไปดูกันเลยดีกว่า

เมื่อเพื่อนๆคิดที่จะซื้อบ้าน เรื่องเงินออมเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเพื่อนๆจะต้องใช้เป็นส่วนหนึ่งในการซื้อบ้าน และเงินออมที่เพื่อนๆมี   สามารถแสดงให้ธนาคารเห็นว่า เพื่อนๆมีความมุ่งมั่นตั้งใจมากแค่ไหนที่จะไปพิชิตบ้านในฝัน ซึ่งเงินออมที่เพื่อนๆมีอยู่ ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นเงินดาวน์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

โดยทั่วไปแล้ว เพื่อนๆอาจจะต้องมีเงินดาวน์ประมาณ 10-25% ของราคาซื้อขายแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเรียกเก็บเงินดาวน์ของผู้ขายบ้านด้วยรวมถึงนโยบายการปล่อยเงินกู้ของสถาบันการเงิน แต่สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์แล้ว ได้กำหนดอัตราส่วนวงเงินกู้เพื่อซื้อบ้านและห้องชุด ดังนี้

อัตราส่วนวงเงินกู้เพื่อซื้อบ้านและห้องชุด

* บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ 85% เพื่อนๆต้องมีเงินดาวน์ อย่างน้อย 15%
* ห้องชุด 70-80% เพื่อนๆต้องมีเงินดาวน์ อย่างน้อย 20-30%                      
* ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์บ้าน  - ค่าธรรมเนียมการโอน 2% - ค่าจดทะเบียนจำนอง 1%

หากเพื่อนๆเก็บหอมรอมริบมาเป็นอย่างดี ค่าใช้จ่ายแค่นี้สบายๆ แต่หากตอนนี้ตัวเพื่อนๆยังไม่มีเงินออมเลย ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้นเก็บสะสมเงินออม โดยการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร เพราะในการกู้เงินพนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ จะขอให้เพื่อนๆแสดงหลักฐานรายได้ พร้อมทั้งแสดงรายการเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝาก มาประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อด้วย เพราะฉะนั้นยิ่งเพื่อนๆสามารถฝากเงินได้ทุกเดือน อย่างต่อเนื่อง ยิ่งแสดงให้เห็นว่าเพื่อนๆเริ่มมีความพร้อมในการซื้อบ้านและกู้เงินมากเท่านั้น และยิ่งเพื่อนๆเก็บออมได้นานปีเท่าได ก็ยิ่งแสดงถึงความน่าเชื่อถือในการกู้เงิน เพื่อที่อยู่อาศัยของเพื่อนๆมากขึ้นเท่านั้นด้วย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ก็เชื่อว่าเพื่อบ้านในฝันของเพื่อนๆแล้วคงไม่มีอะไรที่เพื่อนๆจะทำไม่ได้

การขอผ่อนผันประนอมหนี้กับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์

การขอผ่อนผันประนอมหนี้กับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์

เนื่องจากตอนนี้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของเพื่อนๆโดยทั่วไป ธนาคารอาคารสงเคราะห์จึงได้ดำเนินมาตรการผ่อนผันและประนอมหนี้ให้กับลูกค้า รายย่อยที่มีปัญหาหนี้ค้างชำระ ซึ่งประกอบด้วย

1. มาตรการผ่อนผันและประนอมหนี้
2. การช่วยเหลือลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดี

1. มาตรการผ่อนผันและประนอมหนี้ ได้แก่
1. การขยายระยะเวลาชำระหนี้
2. การผ่อนชำระยอดหนี้ที่ค้างชำระ
3. การพักชำระดอกเบี้ย
4. มาตรการ(GHB 2 U)

1. การขยายเวลาชำระหนี้
ลูกหนี้สามารถขอขยายระยะเวลากู้เงินต่อไปได้ถึง 30 ปีนับจากปัจจุบัน
เงื่อนไข
1.1 อายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอขยายแล้วต้องไม่เกิน 70 ปี
1.2 ลูกหนี้จะต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมด(ถ้ามี)
1.3 ลูกหนี้ที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ต้องพ้นสิทธิการใช้ดอกเบี้ยคงที่ โดยต้องเสียค่าเบี้ยปรับตาม ระเบียบธนาคารฯ
หมายเหตุ : ลูกหนี้บางสวัสดิการอาจไม่สามารถใช้มาตรการนี้ได้

2. การขอผ่อนชำระยอดหนี้ที่ค้างชำระ
ลูกหนี้ขอผ่อนชำระคืนยอดหนี้ที่ค้างชำระได้ 2 วิธีคือ
(1) ผ่อนชำระไม่ต่ำกว่าเงินงวดปกติ ระยะเวลาไม่เกิน 24 เดือน
(2) ผ่อนชำระไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยรายเดือน ระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน
(3) ขอชำระยอดหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนเป็นงวดๆตามเวลาที่ตกลง
เงื่อนไข
2.1 ในวันยื่นคำร้องลูกหนี้ต้องชำระเงินในส่วนที่ค้างชำระอย่างน้อย 1 งวด
2.2 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาประนอมหนี้แล้วลูกหนี้ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมด หรือขอประนอมหนี้ตามมาตรการอื่นของธนาคารต่อไป


3. การพักชำระดอกเบี้ย
3.1 การขอพักชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
เงื่อนไข
3.1.1 พักชำระดอกเบี้ยได้ เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี แล้วแต่ระยะเวลาบังคับคดีคงเหลือ
3.1.2 วันยื่นคำร้องลูกหนี้ต้องชำระเงินงวดอย่างน้อย 1 งวด

ทั้งนี้เมื่อครบระยะเวลาชำระแล้วลูกหนี้ได้ชำระเงินตามข้อตกลงอย่างสม่ำเสมอ สามารถขอดำเนินการดังนี้
3.2 ขอลดดอกเบี้ยร้อยละ 25 ของดอกเบี้ยที่ธนาคารฯยังไม่บันทึกรับรู้เป็นรายได้ ในส่วนที่ตั้งพักไว้
เงื่อนไข
3.2.1 เป็นลูกหนี้ที่ได้ชำระเงินตามข้อตกลงพักชำระดอกเบี้ยจนครบถ้วนแล้ว
3.2.2 ในระหว่างพักชำระดอกเบี้ย ต้องมีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 2.00 งวด หรือไม่ถูกยกเลิกข้อตกลง
3.2.3 ลูกหนี้ต้องยื่นคำร้องภายใน 2 เดือนนับจากวันครบสัญญาพักชำระดอกเบี้ย
3.2.4 ในวันยื่นคำร้องลูกหนี้ต้องชำระหนี้ค้างทั้งหมด
3.2.5 ลูกหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยส่วนที่ธนาคารฯ ไม่ลดให้ทั้งจำนวน หรือทำข้อตกลงประนอมหนี้อื่นๆต่อไป

4. มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ (GHB 2 U)
ลูกหนี้สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ โดยธนาคารจะพิจารณาให้ส่วนลดดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้ ธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ประวัติการชำระเงิน ความเดือดร้อน และความจำเป็นของลูกหนี้โดยละเอียด


2. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดี ได้แก่
1. กรณีลูกหนี้ขอชะลอฟ้อง
2. กรณีลูกหนี้ขอถอนฟ้อง
3. กรณีลูกหนี้ขอยอมความ
4. กรณีลูกหนี้ขอชะลอการยึดทรัพย์ หรือชะลอการขายทอดตลาด


1. กรณีลูกหนี้ขอชะลอฟ้อง
ลูกหนี้ที่ต้องการขอชะลอฟ้อง มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.1 ลูกหนี้สามารถขอชะลอฟ้องได้ โดยต้องชำระหนี้ค้างบางส่วน และขอประนอมหนี้ตามมาตรการอื่นๆ ของธนาคารร่วมด้วย


2. กรณีถอนฟ้อง
ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องแล้วหากต้องการให้ธนาคารถอนฟ้อง มีหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1 ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ค้างทั้งหมด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมศาล, ค่าใช้จ่ายดำเนินคดี + ค่าทนายความ ครบถ้วน หลังจากนั้น ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือตามประกาศธนาคารฯ และถอนฟ้องให้


3. กรณีลูกหนี้ขอยอมความ
ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องคดีแล้วมีความประสงค์จะขอยอมความกับธนาคารฯ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
3.1 ลูกหนี้ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าทนายความให้ครบถ้วน โดยมี หลักเกณฑ์การทำสัญญายอมความ ดังนี้
3.2 ลูกหนี้ต้องผ่อนชำระเงินงวดตามที่ธนาคารกำหนด และไถ่ถอนจำนองภายในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันทำสัญญายอมความ

4. กรณีลูกหนี้ขอชะลอการยึดทรัพย์ / ชะลอขายทอดตลาด

ลูกหนี้ที่ถูกศาลพิพากษาแล้ว หากลูกหนี้มีความประสงค์จะขอชะลอการยึดทรัพย์ หรือชะลอขายทอดตลาด มีหลักเกณฑ์ดังนี้
4.1 ลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนายความ ทั้งในชั้นฟ้องและชั้นบังคับคดี ให้ครบถ้วน
4.2 ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ค้างบางส่วน และขอประนอมหนี้ตามมาตรการอื่นของธนาคารร่วมด้วย
ทั้งนี้ ธนาคารฯ ขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและวิธีการประนอมหนี้ที่จะมีต่อไป

การติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร
 กรณียื่นกู้ที่สำนักงานใหญ่ หรือสาขาในเขตกทม.และปริมณฑล โปรดติดต่อที่ฝ่ายปรับโครงสร้างหนี้ สำนักงานใหญ่ หรือติดต่อที่ โทร.0-2202-1770-5 กรณีที่ท่านยื่นกู้ที่สาขาภูมิภาค โปรดติดต่อที่สาขาที่ท่านยื่นกู้

เศรษฐกิจช่วงนี้ไม่ค่อยดี ยิ่งมาเจอปัญหาภายในประเทศเราเข้าไปอีก ใครที่มีภาระกับทางธนาคารเยอะ ก็ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ดูนะครับ

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กระทรวงการคลังดึง 50 บริษัทยักษ์ใหญ่ตั้งสำนักงานในเมืองไทย

นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลังดึง 50 บริษัทยักษ์ใหญ่ ตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคในประเทศไทย ชงสิทธิประโยชน์ใหม่ล่อใจ เข้าครม.แล้ว

ในวันนี้ (6 ส.ค.) นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ต้อนรับกลุ่มนักธุรกิจจากบริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่ ซึ่งล้วนเป็นผู้บริหารระดับสูงราว 50 คน พร้อมชักชวนให้เข้ามาตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค  (Regional  Operating  Headquarters  :  ROH) ในประเทศไทย ด้วยเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ใหม่ที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในวัน อังคารที่ 3 สิงหาคมนี้

นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การพบกับกลุ่มนักธุรกิจอเมริกันในวันนี้ เป็นการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางด้าน การแข่งขันในภูมิภาคนี้

นอกจากนี้ รมช.คลัง ยังได้ชักชวนให้บริษัทอเมริกันเหล่านั้น เข้ามาตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคในประเทศไทย โดยได้เสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่แก้ไขใหม่จากการสัมมนา ROH Forum ไม่ว่าจะเป็นภาษีนิติบุคคลที่เหลือร้อยละ 0 สูงสุดถึง 15 ปี และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงร้อยละ 10 จากรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ขณะที่ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคของไทยก็จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 15 เป็นเวลา 8 ปี

"นอกจากนั้นเรายังมีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์กลาง จัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน เพื่อขายให้แก่วิสาหกิจในเครืออีกด้วย ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ประเทศไทยมอบให้นี้ถือว่าจูงใจมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้"นายประดิษฐ์ กล่าว

กระทรวงการคลังจะเสนอเรื่องสิทธิประโยชน์ ROH ให้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาในวันอังคารที่ 3 สิงหาคมนี้

นายประดิษฐ์ ยังได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการที่มีบริษัทข้ามชาติยักษ์ ใหญ่เข้ามาตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคในประเทศไทยว่า “เรื่องนี้จะสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลต่อประเทศ เพราะจะมีผู้บริหารต่างชาติที่มีรายได้สูงย้ายเข้ามาในไทย ทำให้มีความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการจับจ่ายใช้สอย และซื้อสินค้า ซึ่งจะทำให้เราสามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น”

นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และการท่องเที่ยวของไทย เนื่องจากจะมีการจัดงานระดับนานาชาติ ในเมืองไทยมากขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทนั้นๆ ก็จะมีการเดินทางไปมากับสำนักงานภูมิภาคอยู่ตลอดเวลา และประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการที่มีบริษัทข้ามชาติเข้ามาตั้งสำนักงาน ปฏิบัติการภูมิภาคในไทย ก็คือจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับพนักงานคนไทยได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ในระดับภูมิภาค มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้นด้วย” นายประดิษฐ์ กล่าว

"นี่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่เราต้องรีบทำ เพราะในอีก 5 ปีข้างหน้า เมื่อกำแพงการค้าภายในภูมิภาคอาเซียนพังทลายลง บริษัทต่างๆ ก็จะเลือกประเทศที่เขาคิดว่าทำงานได้ง่ายมาเป็นสำนักงานภูมิภาค ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องขยับตัวให้เร็ว และ ทันต่อเหตุการณ์ ถ้าหากเรายังต้องการจะรักษาบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้เอาไว้ และอยากจะคงฐานะของความเป็นศูนย์กลางทางด้านการผลิตและการบริการต่อไป" นายประดิษฐ์กล่าวไว้

ที่มาของข่าว:
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20100806/346796/คลังดึง50บริษัทยักษ์ใหญ่ตั้งสำนักงานในไทย.html

นายกรัฐมนตรี ตั้งเป้า5ปีข้างหน้ารัฐบาลจัดงบประมาณสมดุล

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวีวะ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานสัมมนาประจำปีของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าระบบการเงิน การคลังของไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และคาดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดทำงบประมาณแบบสมดุลได้ โดยในวันที่ 9 ส.ค.ที่จะถึงนี้ จะมีการเซ็นข้อตกลงเบื้องต้น (MOU) ระหว่างกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ เพื่อจัดทำงบประมาณแบบสมดุลใน 5 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าคนไทยจะได้รับสวัสดิการสังคมอย่างเต็มรูปแบบ

คนไทยจะสะบายขึ้นแล้วครับ

ถ้าเราจะตรวจสอบข้อมูลเครดิตว่าติด blacklist ออนไลด์ต้องทำอย่างไร

เราสามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตัวเองได้ ดังนี้ครับ

ที่ ธนาคารนครหลวงไทย กับ ธนาคารสินเอเชีย (เฉพาะบุคคลธรรมดา) ที่ผมรู้มานะครับ

            การให้บริการยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตผ่านสาขาธนาคารนครหลวงไทย กับธนาคารสินเอเชีย ทุกแห่งทั่วประเทศนั้น  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะที่อยู่ในภูมิภาคสามารถที่จะตรวจสอบความถูกต้องของประวัติธุรกรรมต่างๆ สินเชื่อของตนเองได้   ทั้งนี้ธนาคารจะทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทนบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เครดิตบูโร) จำกัด ในการรับคำขอตรวจสอบและรับชำระค่าตรวจสอบ  ซึ่งจะ ให้บริการเฉพาะเจ้าของข้อมูลที่เป็นบุคคลและต้องมายื่นขอตรวจสอบด้วยตนเอง เท่านั้น   โดยบริษัทจะเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลและจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตทางไปรษณีย์ลง ทะเบียนให้แก่ท่าน  ภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ท่านได้ยื่นคำขอที่ธนาคาร
ขั้นตอนการขอยื่นคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารสินเอเชีย

1. เจ้าของข้อมูลบุคคลธรรมดา กรอกแบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตที่ธนาคาร หรือขอแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่ธนาคารสาขาที่ท่านติดต่อ และลงลายมือชื่อให้ครบถ้วน  พร้อมแนบหลักฐาน ดังต่อไปนี้
กรณีบุคคลสัญชาติไทย

• บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรอื่นที่หน่วยงานราชการออกให้ที่แสดงเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
กรณีบุคคลต่างด้าว

• หนังสือเดินทาง/ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตัวจริง)
2. ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมการตรวจสอบข้อมูลเครดิตต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร
3. ธนาคารจะออกหลักฐานการรับชำระเงินค่าธรรมเนียมและค่าจัดส่งเอกสาร ให้แก่ท่านเก็บไว้เป็นหลักฐาน
4. บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จะจัดส่งรายงานข้อมูลเครดิตให้แก่ท่านภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ยื่นคำขอ     ที่ธนาคาร

หมาย เหตุ    ในแบบฟอร์มการขอตรวจสอบ กรุณาระบุที่อยู่ของท่านที่จะให้บริษัทจัดส่งรายงานให้ครบถ้วนและชัดเจน รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ของท่านในกรณีที่บริษัทต้องการสอบถามเพิ่มเติม

หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ บ้างนะครับ

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ธนาคารไทยพาณิชย์ ปั้นทายาท SME รุ่นใหม่ สืบทอดกิจการ

ธนาคารไทยพาณิชย์ มอบวุฒิบัตรแสดงความยินดีกับนักเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ที่สำเร็จหลักสูตรพัฒนาทักษะเจ้าของธุรกิจ เพื่อเสริมศักยภาพ
      
       ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB แจ้งข่าว นายอานันท์ ปันยารชุน นายกกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมแสดงความยินดีและเป็นประธานมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรุ่น ใหม่จากภาคธุรกิจต่างๆ ร่วม 50 ราย ที่สำเร็จหลักสูตรโครงการพัฒนาทักษะเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ (SME Young Entrepreneur Program หรือ SME-YEP) รุ่นที่ 8 ซึ่งธนาคารจัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพทายาทธุรกิจให้สามารถสืบทอดกิจการได้ อย่างมืออาชีพ โดยมีคณะผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้บริหารจากวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมยินดี

กระทรวงพาณิชย์เผยยอดธุรกิจเกิดใหม่เฉียด 4,000 ราย ก่อสร้าง-อสังหาฯ ยอดฮิต

พาณิชย์ เปิดเผย ยอดตั้งธุรกิจใหม่เดือน ก.ค.ผุดขึ้น 3,825 ราย รวมทุนจดทะเบียนสูงกว่าหมื่นล้าน โดยธุรกิจก่อสร้าง-อสังหาฯ ยอดฮิตมีผู้ประกอบการขอจดทะเบียนจำนวนมากที่สุด       
       นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถิติการจดทะเบียนธุรกิจในเดือนกรกฎาคม ว่า มีผู้ประกอบธุรกิจขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่เป็นนิติบุคคล ประเภทห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด ทั่วประเทศจำนวน 3,825 ราย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 3,961 ราย คิดเป็นสัดส่วนลดลง 3% ขณะที่เมื่อเทียบกับจดทะเบียนจัดตั้งเดือนมิถุนายน 53 มีการจดทะเบียนจัดตั้งทั่วประเทศซึ่งมีจำนวน 4,321 ราย ลดลง 11%
      
       ทั้งนี้ จากจำนวนการจัดตั้งธุรกิจใหม่ 3,825 ราย แบ่งเป็นจัดตั้งในกรุงเทพฯ 1,552 ราย ส่วนภูมิภาค 2,273 ราย มีเงินทุนจดทะเบียนจำนวน 10,116 ล้านบาท
      
       สำหรับนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 3 อันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 18 ของการจดทะเบียนจัดตั้งทั้งหมด คือ ก่อสร้างอาคารทั่วไป (เช่น การก่อสร้างซ่อมแซมอาคารที่พักอาศัย) จำนวน 391 ราย อสังหาริมทรัพย์ (เช่น การซื้อให้เช่าที่อยู่อาศัย) จำนวน 169 ราย บริการด้านธุรกิจอื่นๆ (เช่น การทำสัญญา) จำนวน 160 ราย
      
       และด้านนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศ สถิติจดทะเบียนเลิกในเดือนกรกฎาคม 2553 มีจำนวน 1,244 ราย แบ่งเป็นกรุงเทพฯ จำนวน 549 ราย ภูมิภาค 695 ราย มีเงินทุนจดทะเบียน 11,881 ล้านบาท สำหรับประเภทธุรกิจที่มีจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิกสูงสุด 3 อันดับแรก คิดเป็น 20% ของการจดทะเบียนเลิกทั้งหมด คือ การก่อสร้างอาคารทั่วไปจำนวน 141 ราย อสังหาริมทรัพย์จำนวน 59 ราย บริการด้านธุรกิจอื่นๆ 53 ราย
      
       ขณะที่ สถิติจดทะเบียนเลิกเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2552 ซึ่งมีจำนวน 1,453 ราย ลดลง 209 ราย คิดเป็น 14% และเมื่อเปรียบเทียบการจดทะเบียนจัดตั้งเดือนมิถุนายน 2553 มีการจดทะเบียนจัดตั้งทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวน 1,119 ราย เพิ่มขึ้น 125 ราย คิดเป็นร้อยละ 11
      
       และทั้งนี้ มีจำนวนห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทจำกัด คงอยู่ทั่วประเทศมีจำนวน 546,837 ราย และบริษัทมหาชนคงอยู่ 891 ราย รวมนิติบุคคลคงอยู่ทั่วประเทศทั้งสิ้น 547,728 ราย

BCP ตั้งเป้ายอดขาย B5 ยูโร 4 จะต้องเพิ่ม 8% ภายในเม.ย.54 นี้ พร้อมทุ่มงบทำตลาด

นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม(BCP)ตั้งเป้ายอดขายน้ำมันดีเซลใหม่ บางจากซูเปอร์เพาเวอร์ดี B5 ยูโร 4 เพิ่มขึ้นเป็น 8% หรือจาก 1,444 ล้านลิตรต่อปี มาเป็น 1,550 ล้านลิตรต่อปีภายใน เม.ย.54 นี้
          "บริษัทเปิดจำหน่ายน้ำมันสะอาดมาตรฐานใหม่นี้ในเชิงพาณิชย์ก่อนรัฐบาลจะ กำหนดจำหน่ายล่วงหน้า 1 ปี 6 เดือน และให้ผู้ใช้ที่สนใจสามารถพิสูจน์ได้ด้วยราคาที่เท่าเดิม ซึ่งจะประหยัดกว่าน้ำดีเซล  B3 90 สตางค์ และถูกกว่าดีเซล B5 สูตรพิเศษในตลาดประมาณ 2 บาท"นายยอดพจน์ กล่าว
          พร้อมทั้ง ตั้งเป้าใช้งบประมาณอีก 60 ล้านบาท ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งทางบริษัทฯ เน้นการทำกิจกรรมเชิงรุกกับผู้บริโภคเพื่อสร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของ น้ำมันดีเซลใหม่นี้มากมาย
          อนึ่ง บางจากฯ ออกน้ำมันดีเซลใหม่ บางจากซูเปอร์เพาเวอร์ดี B5 ยูโร 4 ที่เติมสารเพิ่มพลังคุณภาพ Super Power และความสะอาดของสาร Super Clean ที่ได้รับการรับรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับรถคอมมอลเรลรุ่นใหม่ โดยเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ 1 เมษายนที่ผ่านมา
          น้ำมันน้ำมันดีเซลใหม่ อีกทั้งบางจากซูเปอร์เพาเวอร์ D B5 ยูโร 4 เป็นน้ำมันมาตรฐานสากลใหม่ ยูโร 4 ใช้แล้วช่วยลดมลพิษ สามารถลดกำมะถันลงได้มากถึง 7 เท่าเมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซล B3 และ ดีเซล B5 สูตรพิเศษ ทั้งช่วยลดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และฝุ่นละออง
          นอกจากนี้ หากคนไทยเรายังหันมาใช้น้ำมันดีเซลสูตร B5 ยังมีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้ทันทีเพราะทุก 1 ถัง 50 ลิตรที่เติม จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก CO2 ได้ 250 กรัม ยิ่งเติมมากก็ยิ่งมีส่วนช่วยลดโลกร้อนมากเท่านั้น

ธนาคารไทยร่วมมือ"กลุ่มโรงพยาบาลจากบริการทางการเงินใหม่ . สินเชื่อเพื่อการรักษาพยาบาลเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต

ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ร่วมกับรพ.เอกชนชั้นนำ ได้แก่  รพ.กรุงเทพ  ซ.ศูนย์วิจัย กลุ่มรพ.สมิติเวช และ กลุ่มรพ.กรุงเทพภาคตะวันออก ให้บริการ “สินเชื่อเพื่อการรักษาพยาบาล” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความสุขให้กับลูกค้ารายย่อย
          นายมงคล ลีลาธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย กล่าวความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับลูกค้ารายย่อย ตามสโลแกนที่ว่า ‘ไทยเครดิต ให้ความสุขทุกช่วงชีวิตคนไทย’ ด้วยการสร้างสุขภาพและคุณภาพด้านการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้นผ่านการบริการ ‘สินเชื่อเพื่อการรักษาพยาบาล’ ที่จะเป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้มีโอกาสรับบริการด้านสุขภาพกับโรงพยาบาลเอกชน ชั้นนำที่ปัจจุบันได้ให้บริการแล้ว ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพ ซอยศูนย์วิจัย กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช และกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพภาคตะวันออก  สินเชื่อดังกล่าวให้วงเงินกู้สูงสุดถึง 500,000 บาทต่อผู้กู้ 1 ราย  สามารถกู้ร่วมกันได้มากกว่า 1 ราย  ด้วยอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เริ่มต้นเพียง 0.92% ต่อเดือน  ระยะเวลาผ่อนชำระนานถึง 36 เดือน  ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก”
          นายแพทย์ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหาร ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ  กล่าวว่า “สืบเนื่องจากในการรักษาพยาบาลในปัจจุบันนี้ เห็นได้ว่าโรคแต่ละโรคมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ในการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน อาทิ โรคทางสมอง โรคหัวใจ หรือโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรคมะเร็ง โรคไต ฯลฯ รวมถึงการนำระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้เพื่อช่วยในการรักษาคน ไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ย่อมหมายถึง การมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้นเช่นกัน ความร่วมมือฯ ในครั้งนี้จึงนับเป็นความร่วมมือในเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการแบ่งเบาภาระ และช่วยเพิ่มโอกาสให้กับคนไข้ในกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพได้รับการรักษาดูแลแบบ ต่อเนื่อง 
          ด้วยความมั่นใจในด้านสาขาการให้บริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศในกลุ่มโรง พยาบาลกรุงเทพ ผนวกกับความร่วมมือในการให้บริการ ‘สินเชื่อเพื่อการรักษาพยาบาล’ ดังกล่าว เชื่อมั่นเหลือเกินว่าจะทำให้คนไข้ทุกคนได้รับโอกาสในการรักษาพยาบาลอย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงที และสามารถคืนกลับสู่ครอบครัว สังคม ดำเนินชีวิตได้เป็นปกติและมีความสุข”
          นายแพทย์ดุลย์ ดำรงศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์  กล่าวถึงความร่วมมือในการให้บริการ ‘สินเชื่อเพื่อการรักษาพยาบาล’ ที่ร่วมกับธนาคารไทยเครดิตในครั้งนี้ว่า “ในนามตัวแทนของ บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) อันประกอบด้วย โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท   โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์   โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์   และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา เราถือว่าบริการสินเชื่อดังกล่าวนี้เป็นการเพิ่มอีกหนึ่งทางเลือกให้กับ ลูกค้ารวมถึงประชาชนทุกคนที่เรียกได้ว่าดีมากๆ เพราะจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย  คลายความกังวลใจของผู้ป่วยและญาติได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องกังวลกับระยะเวลาของค่าใช้จ่ายที่เร่งรัดที่จะเกิดขึ้นภายหลังการ รักษา หรือแม้กระทั่งคำปรึกษาในกรณีที่ต้องรักษาแบบต่อเนื่อง    ซึ่งส่งผลดีต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยนั้นให้ได้รับประสิทธิภาพจากการ รักษาของเราอย่างแท้จริง”
          รูปแบบการให้บริการนี้  ทางสมิติเวช และธนาคารไทยเครดิต  ก็อยากแสดงความจริงใจที่เรามีให้กับลูกค้าทุกคนจริงๆ  ด้วยการให้ความสำคัญในการเป็นที่ปรึกษาตั้งแต่เริ่มแรกของการรักษา ผู้ป่วยสามารถได้รับการปรึกษาด้านค่าใช้จ่ายตั้งแต่ก่อนเข้ารับการรักษา หรือตลอดจนในช่วงของการรักษาและหลังการรักษา นับว่าเป็นการให้โอกาสและช่วยสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยและญาติของผู้ ป่วยของโรงพยาบาลได้อย่างแท้จริง” 
          นายแพทย์ประยุทธ สมประกิจ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพภาคตะวันออก  กล่าวว่า “นับเป็นมิติใหม่ของความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงิน และโรงพยาบาล ที่ต้องการเข้าถึงการให้บริการทางสุขภาพแก่ประชาชนในรูปแบบบริการทางการ เงิน   ด้วยการแบ่งเบาภาระ และบริหารเงินค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย แบบคลายกังวลใจ  เพื่อมุ่งด้านการรักษาพยาบาล  
          อีกหนึ่งจุดเด่นของบริการดังกล่าวนี้คือ ยังสามารถเอื้อประโยชน์ด้านสินเชื่อเพื่อรักษาพยาบาลให้กับทั้งชาวไทยและชาว ต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่พัทยา ชลบุรี และพื้นที่ไกล้เคียง   ตลอดจนในกลุ่มประชาชนวัยทำงานที่ใส่ใจสุขภาพอย่างเขตอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อาทิ แหลมฉบับ จ.ชลบุรี และมาบตาพุด จ.ระยอง และโดยหลักการของแต่ละบริษัทอุตสาหกรรมฯ  ต้องการส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงานโดยการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีการตรวจพบอาการเจ็บป่วยที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง  ก็สามารถเข้าร่วมโครงการสินเชื่อเพื่อการรักษาพยาบาลได้เช่นกัน   นับเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอย่างแท้จริง”
          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2697-5454 หรืออ่านรายละเอียดได้ที่ www.tcrbank.com