วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การขอผ่อนผันประนอมหนี้กับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์

การขอผ่อนผันประนอมหนี้กับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์

เนื่องจากตอนนี้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของเพื่อนๆโดยทั่วไป ธนาคารอาคารสงเคราะห์จึงได้ดำเนินมาตรการผ่อนผันและประนอมหนี้ให้กับลูกค้า รายย่อยที่มีปัญหาหนี้ค้างชำระ ซึ่งประกอบด้วย

1. มาตรการผ่อนผันและประนอมหนี้
2. การช่วยเหลือลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดี

1. มาตรการผ่อนผันและประนอมหนี้ ได้แก่
1. การขยายระยะเวลาชำระหนี้
2. การผ่อนชำระยอดหนี้ที่ค้างชำระ
3. การพักชำระดอกเบี้ย
4. มาตรการ(GHB 2 U)

1. การขยายเวลาชำระหนี้
ลูกหนี้สามารถขอขยายระยะเวลากู้เงินต่อไปได้ถึง 30 ปีนับจากปัจจุบัน
เงื่อนไข
1.1 อายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอขยายแล้วต้องไม่เกิน 70 ปี
1.2 ลูกหนี้จะต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมด(ถ้ามี)
1.3 ลูกหนี้ที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ต้องพ้นสิทธิการใช้ดอกเบี้ยคงที่ โดยต้องเสียค่าเบี้ยปรับตาม ระเบียบธนาคารฯ
หมายเหตุ : ลูกหนี้บางสวัสดิการอาจไม่สามารถใช้มาตรการนี้ได้

2. การขอผ่อนชำระยอดหนี้ที่ค้างชำระ
ลูกหนี้ขอผ่อนชำระคืนยอดหนี้ที่ค้างชำระได้ 2 วิธีคือ
(1) ผ่อนชำระไม่ต่ำกว่าเงินงวดปกติ ระยะเวลาไม่เกิน 24 เดือน
(2) ผ่อนชำระไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยรายเดือน ระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน
(3) ขอชำระยอดหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนเป็นงวดๆตามเวลาที่ตกลง
เงื่อนไข
2.1 ในวันยื่นคำร้องลูกหนี้ต้องชำระเงินในส่วนที่ค้างชำระอย่างน้อย 1 งวด
2.2 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาประนอมหนี้แล้วลูกหนี้ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมด หรือขอประนอมหนี้ตามมาตรการอื่นของธนาคารต่อไป


3. การพักชำระดอกเบี้ย
3.1 การขอพักชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
เงื่อนไข
3.1.1 พักชำระดอกเบี้ยได้ เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี แล้วแต่ระยะเวลาบังคับคดีคงเหลือ
3.1.2 วันยื่นคำร้องลูกหนี้ต้องชำระเงินงวดอย่างน้อย 1 งวด

ทั้งนี้เมื่อครบระยะเวลาชำระแล้วลูกหนี้ได้ชำระเงินตามข้อตกลงอย่างสม่ำเสมอ สามารถขอดำเนินการดังนี้
3.2 ขอลดดอกเบี้ยร้อยละ 25 ของดอกเบี้ยที่ธนาคารฯยังไม่บันทึกรับรู้เป็นรายได้ ในส่วนที่ตั้งพักไว้
เงื่อนไข
3.2.1 เป็นลูกหนี้ที่ได้ชำระเงินตามข้อตกลงพักชำระดอกเบี้ยจนครบถ้วนแล้ว
3.2.2 ในระหว่างพักชำระดอกเบี้ย ต้องมีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 2.00 งวด หรือไม่ถูกยกเลิกข้อตกลง
3.2.3 ลูกหนี้ต้องยื่นคำร้องภายใน 2 เดือนนับจากวันครบสัญญาพักชำระดอกเบี้ย
3.2.4 ในวันยื่นคำร้องลูกหนี้ต้องชำระหนี้ค้างทั้งหมด
3.2.5 ลูกหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยส่วนที่ธนาคารฯ ไม่ลดให้ทั้งจำนวน หรือทำข้อตกลงประนอมหนี้อื่นๆต่อไป

4. มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ (GHB 2 U)
ลูกหนี้สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ โดยธนาคารจะพิจารณาให้ส่วนลดดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้ ธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ประวัติการชำระเงิน ความเดือดร้อน และความจำเป็นของลูกหนี้โดยละเอียด


2. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดี ได้แก่
1. กรณีลูกหนี้ขอชะลอฟ้อง
2. กรณีลูกหนี้ขอถอนฟ้อง
3. กรณีลูกหนี้ขอยอมความ
4. กรณีลูกหนี้ขอชะลอการยึดทรัพย์ หรือชะลอการขายทอดตลาด


1. กรณีลูกหนี้ขอชะลอฟ้อง
ลูกหนี้ที่ต้องการขอชะลอฟ้อง มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.1 ลูกหนี้สามารถขอชะลอฟ้องได้ โดยต้องชำระหนี้ค้างบางส่วน และขอประนอมหนี้ตามมาตรการอื่นๆ ของธนาคารร่วมด้วย


2. กรณีถอนฟ้อง
ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องแล้วหากต้องการให้ธนาคารถอนฟ้อง มีหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1 ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ค้างทั้งหมด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมศาล, ค่าใช้จ่ายดำเนินคดี + ค่าทนายความ ครบถ้วน หลังจากนั้น ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือตามประกาศธนาคารฯ และถอนฟ้องให้


3. กรณีลูกหนี้ขอยอมความ
ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องคดีแล้วมีความประสงค์จะขอยอมความกับธนาคารฯ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
3.1 ลูกหนี้ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าทนายความให้ครบถ้วน โดยมี หลักเกณฑ์การทำสัญญายอมความ ดังนี้
3.2 ลูกหนี้ต้องผ่อนชำระเงินงวดตามที่ธนาคารกำหนด และไถ่ถอนจำนองภายในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันทำสัญญายอมความ

4. กรณีลูกหนี้ขอชะลอการยึดทรัพย์ / ชะลอขายทอดตลาด

ลูกหนี้ที่ถูกศาลพิพากษาแล้ว หากลูกหนี้มีความประสงค์จะขอชะลอการยึดทรัพย์ หรือชะลอขายทอดตลาด มีหลักเกณฑ์ดังนี้
4.1 ลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนายความ ทั้งในชั้นฟ้องและชั้นบังคับคดี ให้ครบถ้วน
4.2 ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ค้างบางส่วน และขอประนอมหนี้ตามมาตรการอื่นของธนาคารร่วมด้วย
ทั้งนี้ ธนาคารฯ ขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและวิธีการประนอมหนี้ที่จะมีต่อไป

การติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร
 กรณียื่นกู้ที่สำนักงานใหญ่ หรือสาขาในเขตกทม.และปริมณฑล โปรดติดต่อที่ฝ่ายปรับโครงสร้างหนี้ สำนักงานใหญ่ หรือติดต่อที่ โทร.0-2202-1770-5 กรณีที่ท่านยื่นกู้ที่สาขาภูมิภาค โปรดติดต่อที่สาขาที่ท่านยื่นกู้

เศรษฐกิจช่วงนี้ไม่ค่อยดี ยิ่งมาเจอปัญหาภายในประเทศเราเข้าไปอีก ใครที่มีภาระกับทางธนาคารเยอะ ก็ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ดูนะครับ

3 ความคิดเห็น:

  1. เป็นความรู้ที่ดีครับ

    ตอบลบ
  2. เราผิดนัดประนอมหนี้งวดแรกเพราะเราหมุนเงินไม่ทันจริงแล้วเราต้องทำอย่างไรได้บ้างค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2563 เวลา 10:21

    เราขึ้นศาลพรุ่งนี้เราจะทำไงดีต้องรักษาบ้านไว้

    ตอบลบ